วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมืองโบราณหริภุญไชย



เมืองโบราณหริภุญไชย

เมืองโบราณหริภุญไชย อาณาจักรอันรุ่งเรืองและเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ แบ่งออกเป็น ๕ ยุค คือ

๑.ยุคก่อนประวิติศาสตร์
๒.ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม
๓.ยุคล้านนา
๔.ยุคต้นรัตนโกสินทร์
๕.ยุคการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
 
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นชุมชนโบราณยุคแรก ที่ปรากฏหลักฐาน ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ในเขต ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน กลุ่มชนที่นี่คือเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่อาศัยในดินแดนแถบนี้ก่อนที่จะรับวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่ที่แผ่ขยายเข้ามาและผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิม

ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ อาณาจักรหริภุญไชย ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับแบบอย่าง วัฒนธรรมทวารวดี จากลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งการปกครอง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รุ่งเรืองในด้านการค้าเศรษฐกิจ มีกษัตริย์ปกครอง ที่ต้องทำนุบำรุงศาสนา และประชาชนศรัทธาพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีปฐมกษัตรีย์ คือ พระนางจามเทวี

ยุคล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑ พญามังรายได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปเชียงใหม่ และให้เมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ทำให้พุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคงและต่อเนื่องในดินแดนหริภุญไชย

ยุคต้นรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ เป็นยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในช่วงที่พม่าครอบครอง ดินแดนล้านนา เกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้ง ชาวเมืองพากันหลบหนีเข้าป่า ปล่อยบ้านเมืองร้าง พญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้แต่งตั้งน้องชาย คือ พระยาบุรีรัตน์ (คำฝั้น) มาครองเมืองลำพูน และได้อพยพผู้คนชาวยองมาสร้างบ้าน แปงเมืองใหม่ โดยตั้งถิ่นฐานที่อยู่แถบริมน้ำกวง ริมน้ำปิง และริมน้ำทา ชาวยองได้นำวัฒนธรรม ศิลปกรรม และงานช่างต่างๆ มาด้วย ยุคนี้บ้านเมืองสงบสุข ร่มเย็น

ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยยกเลิกการปกครองแบบ เจ้าผู้ครองนคร มีการแต่งตั้งข้าหลวงประจำเมืองมาปกครองเมืองลำพูน รวมหัวเมืองที่อยู่ใกล้เคียงตั้งเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่ปกครองขึ้นตรงต่อสยาม มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือและพัฒนบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง

ที่มาของพระราชประวัตินี้

. ชินกาลมาลีปกรณ์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ
. สังคีติยวงศ์
. จามเทวีวงศ์

(คัดลอกจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดลำพูน-บ้านมอญหนองดู่)
 
*************
 
Monlamphun ขอขอบพระคุณทุกๆ เว็บไซต์ ทุกๆ บทความที่ได้เผยแพร่เกียรติประวัติ เกียรติคุณของ

มอญบ้านหนองดู่-มอญบ้านบ่อคาว ซึ่ง แว่น มัฆวาน ในฐานะที่เป็นลูกหลานเม็งคะบุตร เห็นว่ากระจัดกระจายกันอยู่หลายที่หลายแห่ง จึงได้รวบรวมนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้อนุชนได้ทราบ และเป็นการย้ำเตือนความทรงจำของ
มอญบ้านหนองดู่ - มอญบ้านบ่อคาว
   
ซึ่งเป็น...

หนึ่งเดียวในจังหวัดลำพูน

หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอท่านผู้รู้ทั้งหลาย กรุณาแนะนำ ติชม เพื่อที่จะได้แก้ไข
ให้ถูกต้องต่อไป....
ขอกราบขอบพระคุณ..

"แว่น มัฆวาน"

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น